VR COUNSELING คืออะไร??
- 24 มิ.ย. 2566
- psychology
การใช้ VR Counseling เป็นการพูดคุยระหว่างผู้รับบริการและนักจิตวิทยา ผ่านกระบวนการปรึกษา เหมือนกับในซีรีย์ต่างประเทศที่ โดยมีโครงสร้างหลัก 5 ขั้นตอน ได้แก่
- Relationship building เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการกับนักจิตวิทยาเพื่อเข้าใจบทบาทในการปรึกษาครั้งนี้และที่สำคัญคือการสร้างความรู้สึกว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของผู้รับบริการ พื้นที่นี้ปลอดภัย พื้นที่นี้จะไม่ตัดสินในทุก ๆ ความคิด ความรู้สึก และตัวตนทุกตัวตนที่ผู้รับบริการจะแสดงออกมาในพื้นที่แห่งนี้ (เพิ่มเติม จรรยาบรรณของนักจิตวิทยาจะต้องเก็บทุกเห็นการที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้เป็นความลับ) โดยพื้นที่นี้จะอยู่กับผู้รับ
- In-depth exploration นักจิตวิทยาจะใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการช่วยผู้รับบริการกลับมาสัมผัสตัวเองเพื่อสำรวจมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เกิดความตระหนักรู้ทั้งความคิด ความรู้สึก หรือวิธีการที่ใช้เผชิญกับปัญหานั้น ๆ
- Commitment to action ในกระบวนการนี้จะกำหนดหัวข้อ ประเด็นที่ผู้รับบริการจะทำงานร่วมนักจิตวิทยา โดยการสร้าง avatar เข้ามาช่วยให้มองเห็นปัญหาให้ชัดเจนขึ้น โดยไม่ว่าปัญหาจะเกี่ยวข้องกับตนเอง ความสัมพันธ์คนอื่น ๆ หรือแม้แต่บุคคลที่สูญเสียไปเสีย นักจิตจะช่วยให้ผู้รับบริการเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น
- Counseling intervention ขั้นตอนนี้นักจิตวิทยาจะให้ผู้เข้ารับบริการสวม VR และใช้เทคนิคต่าง ๆ ก่อให้เกิดกระบวนการที่มุ่งให้ผู้รับบริการเกิดความกระจ่างชัดในตนเอง รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ เข้าใจปัญหาที่กระทบต่อตนเอง รับรู้และเข้าใจเหตุการณ์ตามความเป็นจริง ค้นหาและใช้ความสามารถทุก ๆ ด้านอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยให้ได้รับประสบการณ์ เกิดการเติบโตงอกงาม เกิดความสอดคล้องภายในตนเองมากขึ้น สามารถตัดสินใจจัดการกับปัญหาที่เผชิญด้วยศักยภาพของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพหรือเกิดความพึงพอใจสูงสุด
- Evaluation, termination, or referral ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการให้การปรึกษา โดยนักจิตวิทยาจะให้ผู้รับบริการถอด VR และเอื้ออำนวยให้ผู้รับบริการสามารถสรุปประเด็นที่มารับการปรึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการครั้งนี้ ตลอดจนแนวทางการนำไปปรับใช้เพื่อเผชิญหรือแก้ไขกับปัญหา โดยนักจิตวิทยาก็จะสรุปประเด็น หากผู้รับบริการจะกลับมารับบริการในครั้งต่อไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการพัฒนาตนเองของผู้รับบริการ รวมถึงให้ข้อแนะนำอื่น ๆ เช่น การบำบัดแนวทางอื่น ๆ การพบจิตแพทย์ การใช้ยาร่วมกับการบำบัด ทั้งนี้ นักจิตวิทยาจะแนะนำโดยยึดประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการตามจรรยาบรรณ
ผลของกระบวนการ
กระบวนการนี้จะช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความตระหนักรู้ภายในตนเองมากขึ้น กระจ่างชัดในตนเอง รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ เข้าใจปัญหาที่กระทบต่อตนเอง รับรู้และเข้าใจเหตุการณ์ตามความเป็นจริง ค้นหาและใช้ความสามารถทุก ๆ ด้านอย่างเต็มศักยภาพ เกิดการเติบโตงอกงาม สอดคล้องภายในตนเองมากขึ้น สามารถตัดสินใจจัดการกับปัญหาที่เผชิญด้วยศักยภาพของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพหรือเกิดความพึงพอใจสูงสุด เหมาะสำหรับผู้รับบริการที่ต้อง
- ค้นหาหรือเข้าใจตนเอง (self-exploration)
- อยากเพิ่มความมั่นในใจในตนเอง (self-esteem)
- เพิ่มการรบรู้ความสามารถของตนเอง (self-efficacy)
- ความวิตกกังวล (axiety)
- ภาวะหมดไฟจากการทำงาน (burnout)
- ความสัมพันธ์ (relationship)